กระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และค่านิยม ดังนั้นเพื่อให้ได้เยาวชนที่มีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันต่อสภาพแวดล้อมของสังคมรอบข้าง และบรรลุถึงประสงค์ของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) โดยมีแนวคิดและสาระสำคัญที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคม โดยคนและเพื่อคน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาท่ให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะให้คนในชาติเข้ามีส่วนร่วม 4 เรื่อง คือ
1. คนเป็นศูนย์กลาง
2. การพัฒนาแบบองค์รวมเน้นบูรณาการ
3. มีการบริหารจัดการที่ดี
4. การวางรากฐานการพัฒนาให้เข้มแข็ง
ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นที่เข้าใจและตระหนักทั่วกันของคนในสังคมว่าเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าและสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติในอนาคต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความพร้อมทุกด้าน คือ สุขภาพอนามัย สุขภาพจิต ความสามารถพื้นฐาน ความรู้การศึกษา การเตรียมอาชีพ การมีงานทำตลอดจนพฤติกรรมและการแสดงออกต่างๆ โดยจะต้องได้รับความร่วมมือประสานงานจากทุกภาคส่วนของสังคมและสิ่งที่สำคัญคือ ตัวเด็กเยาวชนเองต้องเห็นคุณค่าความสำคัญของตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างจริงจัง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคมอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทและภารกิจโดยตรงในการพัฒนาคุณภาพของคน ส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการพัฒนากลุ่มเป้าหมายเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสต่างๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาคขึ้นเพื่อเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการเดิมซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบและให้ขยายผลออกไปในพื้นที่ต่างๆ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 และเพื่อเป็นการสร้างฝึกฝนและพัฒนาเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้เป็นทุนสังคมของประเทศที่มีความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
หลักการสำคัญ
1. ปรัชญาในการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี เริ่มต้นจากการกำหนดกรอบแนวคิดด้านสังคมเพื่อสร้างคนดีที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสังคมไทยในอนาคต ตามที่กำหนดไว้ในแปนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และเป้าหมายตามแนวนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยนำพระบรมราโชวาทของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมืองมาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อมเกิดแรงบันดาลใจและเกิดพลังมุ่งมั่นรวมกัน
2. กลุ่มเป้าหมายให้เริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน เนื่องจากสามารถปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีได้ง่ายและเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สามารถสื่อไปยังผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และครูอาจารย์ ข้าราชการ ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนต่างๆ ให้ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน รวมทั้งปรับพฤติกรรมให้เป็นแบบอย่างที่ดีได้
3. การพัฒนาเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคม โดยหน่วยงานภาครัฐจะเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่สถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน วัด ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อมวลชน
4. การกำหนดเครื่องชี้วัดที่เป็นรูปธรรม โดยพัฒนาสลไกที่ชี้วัดความเป็นคนดีของสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เรียกว่า “ภูมิจริยธรรม” ซึ่งเป็นมาตรฐานวัดความดีงามที่สังคมยอมรับโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสคนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) ได้กำหนดคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนคนดีไว้ 9 ประการ ได้แก่
1. มีคุณธรรมและจริยธรรม
2. มีระเบียบวินัย
3. มีจิตสำนึกดี
4. รักการเรียนรู้
5. มีความรักผูกพัน เอื้ออาทร ห่วงใยกับบุคคลในครอบครัว
6. รักความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย
7. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
8. มีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย
9. ไม่มั่วสุมอบายมุข
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นคนดีและมีความรอบรู้ มีคุณลักษณ์เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง เพื่อสามารถดำเนินชีวิตของตนเอง ได้อย่างมีความสุขและสามารถช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมได้ตามศักยภาพ
2. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนและทุกภาคส่วนของสังคมให้มีบทบามในการพัฒนาเต็มศักยภาพในรูปของภาคีเครือข่ายการพัฒนา
3. เพื่อกำหนดเครื่องมือความเป็นคนดีในสังคม ซึ่งจะเป็นกลไกช่วยพัฒนาคุณภาพเด็ก และเยาวชนให้เป็นคนดีมีโอกาสในการประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน
1. เด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา
2. พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน สื่อมวลชน ภาคราชการที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายพัฒนาสังคม ตลอดจนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดำเนินการ
กรอบแนวคิด
ปรัชญาในการส่งเสริมให้คนเป็นคนดี ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้างเมือง กลุ่มเป้าหมายเริ่มต้นที่เด็กและเยาวชน เนื่องจากสามารถปลุกจิตสำนึกที่ดีได้ง่ายและเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สามารถส่งไปยังกลุ่มอื่นให้ช่วยส่งเสริมและสนับสนุน รวมทั้งปรับปรุงพฟติกรรมให้เป็นแบบอย่างที่ดี การพัฒนาเน้นความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคม โดยภาครัฐจะเป็นแกนประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สถาบันศาสนา ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน การกำหนดเครื่องชี้วัดที่เป็นรูปธรรม โดยพัฒนากลไกชี้วัดความเป็นคนดีที่เรียกว่า “ภูมิจริยธรรม” ให้เป็นมาตรฐานวัดความดีงามที่ชุมชนและสังคมต้องการและยอมรับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สนับสนุนการจัดโครงการทดลองในพื้นที่ต่างๆ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคนและสังคม และการสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาประเทศ ตามแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีโครงการนำร่องเพื่อสร้างแระแสการพัฒนาคนในระดับจุลภาคเป็นโดรงการหนึ่งที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยการปลุกจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมเพื่อให้เป็นคนดี
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2539 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) โดยได้คัดเลือกให้จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรกเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยผู้นำในท้องถิ่นให้การสนับสนุน มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนภาคการเมืองที่มีเอกภาพ รวมทั้งประชาชนพร้อมให้ความร่วมมือและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
กระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ เริ่มจากให้ผู้เกี่ยวข้องระดมกำหนดคุณลักษณะของเยาวชน คนดีที่ชุมชนต้องการ และกำหนดชื่อโครงการว่า “โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ” โดยจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการโครงการ กำหนดรูปแบบ การดำเนินงาน จัดทำคู่มือแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเริ่มทดลองเฉพาะในเขตอำเภอเมืองเพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมทั้งในสถานศึกษาและชุมชนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของเยาวชนที่กำหนดไว้ควบคู่กับรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในทุกรูปแบบเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กและเยาวชน และกำหนดระบบติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการ
จากการประเมินผลโดยสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ภายหลังที่มีการดำเนินงานโครงการไปแล้ว 2 ปี ในช่วงปี 2541-2542 พบว่า เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู อาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ประชาชน และพระ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสังคม เพราจะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง มีสายใจ ผูกพันกับครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้นำชุมชนตระหนักถึงปัญหาต่างๆ และร่วมมือกันในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน สมควรให้มีการดำเนินโครงการต่อไปเพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นให้มีการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ และมีมติมอบหมายให้ สยช. กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปขยายผลในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณานำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเป็นส่วนหนึ่ง ในหลักสูตรการเรียนการสอนและกระบวนการปฏิรูปการศึกษาต่อไป
การขยายผล
จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดต่อจากสุพรรณบุรีที่ได้นำโครงการนี้ไปดำเนินการอย่างจริงจัง ในปลายปี พ.ศ. 2543 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ดำเนินงานเรื่อยมา จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้มีสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีผลทำให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติถูกยกเลิกไป ดังนั้นงานในส่วนที่ สยช. เดิมดำเนินงานอยู่จึงถูกโอนต่อมายัง สท. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 สท.สนับสนุนการดำเนินงานแก่จังหวัดร้อยเอ็ดทั้งด้านวิชาการและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง สำหรบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 สท. ได้ขยายการดำเนินงานออกไปอีก 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี สระแก้ว ราชบุรี เพชรบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น สุรินทร์ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส รวม 2 จังหวัดเดิม คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดร้อยเอ็ด เป็น 15 จังหวัด
แนวคิดการพัฒนาคนและสังคม
ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ได้กล่าวถึงแนวคิดในการพัฒนาคนและสังคม ในหนังสือทฤษฏีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม (2546: 124-129) ไว้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคมว่าควรเน้นการพัฒนาคนเป็นอันดับแรก เพราะคนเป็นหัวใจของสังคม การพัฒนาสังคมก็จำเป็นต้องพัฒนาคนเป็นหลัก หากคนได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นคนที่พัฒนาแล้ว คนจะพัฒนาอย่างอื่นให้เจริญขึ้นตามที่เขาต้องการ
ที่กล่าวเช่นนั้น แน่นอนละว่า ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นไม่สำคัญ หากมีความสำคัญเป็นรอง นอกจากนั้นกระบวนการพัฒนาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นอีก ในทางปฏิบัติอาจใช้การพัฒนาสิ่งแวดล้อม คน หรือการพัฒนาวัตถุเป็นตัวนำ เป็นแบบฝึกหัดสำหรับการพัฒนาก็ได้ ขอเพียงให้ตระหนักว่า คนทำให้เกิดสังคม คนต้องพึ่งพาสังคม คนและสงคมจึงมีความสำคัญแก่กันและกัน
เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคนอยู่ที่การทำให้คนมีคุณภาพและคุณธรรม คนมีคุณภาพ หมายถึง คนที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ในวิชาชีพ สามารถหาเลี้ยงตนเองและรอบครัวได้ในวิชาสาธารณสุข จนสามารถดูแลงานเอง ครอบครัว ชุมชน ให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ในวิชาการเมืองจนปกครองตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ และในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จนสามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ใช้ และบำรุงรักษาเทคโนโลยีใหม่ ได้และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ได้
คนที่มีคุณธรรม หมายถึง เป็นคนดี คิดดี และประพฤติดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นในสังคม และมีเมตตา กรุณา ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอ รู้จักตนเอง สียสละเพื่อส่วนรวม มองการณ์ไกล ไม่ประมาทและมีศีลธรรม
เหตุที่คนพัฒนาจะต้องมีทั้งคุณภาพและคุณธรรมก็เพราะ หากมุ่งแต่คุณภาพอย่างเดียว ไม่มีคุณธรรม จะชักนำคนให้มุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียวไม่เผื่อแผ่ผู้อื่นหรือทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นมากมาย สังคมยุ่งหยิง ไม่มั่นคงและไม่มีความสุข แต่การมีแต่คุณธรรมความดีไม่มีคุณภาพ มนุษย์ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้ เพราะมนุษย์จะไม่รู้จักประกอบอาชีพ ไม่รู้จักรักษาสุขภาพ ไม่รู้จักปกครองตนเอง ไม่รู้จักสร้างสรรค์ เครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องกล ประเภทต่างๆ ทำให้ชีวิตไม่สะดวกสบายตามควร คนพัฒนาจะต้องเป็นทั้งคนที่มีคุณภาพและคุณธรรม
วิธีการ
วิธีการพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นคนที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรมนั้น ก็คือการนำเอาหลักการพัฒนาคนที่กล่าวมาข้างต้นมาลงมือทำ จัดเป็นหมวดหมู่แล้วอาจได้ดังนี้
1. การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงื้นฐานความรู้ของผู้รับการศึกษา แล้วจึงเพิ่มเติมจากที่มีให้มากขึ้น
2. ให้นำเอาการพัฒนาทางวัตถุ เช่น การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ หรือการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้สร้างความเจริญทางวัตถุมาเป็นสื่อในการพัฒนาคน ในบางกาสไม่ใช่ให้การศึกษาแต่เรื่องที่เป็นนามธรรม เช่น เรื่องการเมือง เรื่องอนามัย เรือ่งศีลธรรมเท่านั้น
3. การเรียนก็ดี การทะงานเพื่อการพัฒนาก็ดี จะต้องทำเป็นกลุ่ม เพื่อให้ชาวบ้านได้ช่วยกันคิด ช่วยกันเรียนสอนกันเอง เรียนกันเอง จะได้ทั้งความรู้ความเข้าใจ และช่วยกันจดจำไว้ใช้ในอนาคต
4. นำเอา BAN มาเป็นแนวทางการพัฒนา คือ ในขณะที่เพิ่มความรู้ความสามารถด้านต่างๆ จะต้องรักษาสมดุลในตัวเอง แต่ละคนผู้เรียน ไม่ให้เสียสุขภาพจิต สุขภาพกาย ต้องมีเพื่อนทั้งที่เป็นรายบุคคลและรายกลุ่มคอยช่วยประคับประคอง
5. นำเอา PAR มาเป็นแนวทางการพัฒนา คือ ครู (จะเป็นนักพัฒนา นักวิชาการด้านต่างๆ พระ หรือใครที่ทำหน้าที่สอน) และลูกศิษย์ (คือชาวบ้าน) จะต้องร่วมมือกันเรียน ร่วมกันสอน งานที่ทำและเรียน มีทั้งงานพัฒนาและงานวัดผลประเมินผลการทำงาน ครูนักเรียนต้องทำร่วมกัน
6. การพัฒนาคนจำเป็นต้องค่อยทำค่อยไป ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สิ่งใหม่หรือความล้าสมัยของสิ่งเก่า การฝึกความชำนาญในการคิดและทำสิ่งใหม่ ตลอดจนการฝังเอาสิ่งใหม่เข้าไว้ในวัฒนธรรมหรือนิสัยของคนจะต้องใช้เวลามาก ต้องพยายามต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทั้งครูและลูกศิษย์หรือคนภายนอกมีความพอใจในผลงาน จึงจะหยุดงานนั้น แต่งานใหม่ก็จะมีมาอีก การเรียนและการพัฒนาจึงไม่มีวันจบสิ้น เป็นกระบวนการตลอดชีวิต (education is a life long process)
คนที่พัฒนาแล้วควรมีลักษณะอย่างไร เป็นคนที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม หรือเป็นคนดีและเป็นคนเก่งเท่านั้นเพียงพอหรือไม่จากประสบการณ์พัฒนาที่ส่งผลให้เกิดความเจริญด้านวัตถุควบคู่กับการเกิดปัญหาสังคมอันมากมาย รวามทั้งการเกิดความทุกข์ใจของคนสมัยหลังแผนกรพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ตั้งเป้าไว้ว่า นอกจากจะทำให้คนดีและเก่งแล้ว คนที่พัฒนาแล้วจะต้องมีความสุขและใส่ใจในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วคุณลักษณะของคนพัฒนาอีกสองข้อ ที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็รวมอยู่ในสองลักษณะเดิมนั่นเอง เพียงแต่แยกออกมาระบุให้ชัดเจนขึ้น
สรุปว่า คนที่พัฒนาแล้วควรมีลักษณะเด่นสี่ประการ คือ
1. เป็นคนมีคุณภาพ
2. เป็นคนมีคุณธรรม
3. เป็นคนมีความสุข
4. เป็นคนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
สำหรับลักษณะคุณภาพและคุณธรรม ได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่พูดถึงเป้าหมายการพัฒนาคน จึงจะไม่กล่าวอีก ส่วนลักษณะที่สามคนมีความสุข และลักษณะที่สี่ คนเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมก็ได้กล่าวไว้แล้วโดยสังเขป เมื่อกล่าวถึงครอบครัว/ชุมชนพัฒนา จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีกเช่นเดียวกัน แต่เพื่อให้เห็นภาพแยกต่างหาก จากหัวข้ออื่น จะขอแสดงลักษณะของคนพัฒนาไว้ดังนี้
1. คนพัฒนาจะต้องเป็นคนมีความสุข คือ ความสะดวกสบายกาย ปลอดโปร่งใจในการดำเนินชีวิต ความสุขกายสบายใจนี้จะต้องเป็นผลมาจาก
2. คนพัฒนาเป็นคนมีสุขภาพ นั่นคือ เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในศาสตร์สามสาขา มนุษย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ ในระดับเพียงพอแก่การดำรงชีวิต
3. คนพัฒนาเป็นคนมีคุณธรรม คือการเป็นคนดี ทำดี พูดดี และคิดดี เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น คนดีเป็นคนที่ประกอบอาชีพสุจริต ขยันขันแข็ง ประหยัด รู้จักพอ ซื่อสัตย์และใช้ปัญญาในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิต
4. คนพัฒนาเป็นคนใส่ใจสิ่งแวดล้อม หมายความว่า รู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ห่า เขา สัตว์ โดยรักษาสมดุลของระบบนิเวศไว้ (ecological system) คงความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้ตลอดไป (bio diversity)
สรุป
การพัฒนาคนเป็นเป้าหมายหนึ่งในห้าของการพัฒนาสังคม แต่จะต้องถือว่าเป็นส่วนสำคัญหรือหัวใจของการพัฒนาสังคมทีเดียว เพราะหากพัฒนาคนล้มเหลว เป้าหมายอื่นก็ไม่อาจสำเร็จได้ การพัฒนาคนมีเป้าหมายให้คนมีความสุขจากการมีคุณภาพ คุณธรรมและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มองในแง่วิชาการอยู่ใน 3 ศาสตร์ นักพัฒนาจึงต้องมีความรู้ความชำนาญในศาสตร์เหล่านี้พอประมาณ แล้วถ่ายทอดหรือร่วมกันกับประชาชน และผู้อื่นในกระบวนการพัฒนาก่อให้เกิดลักษณะคนพัฒนาขึ้น ทำเช่นนี้จึงจะถือได้ว่าบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนที่สมบูรณ์